ภาพกิจกรรมและสื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8


  วัน อังคาร ที่ 25 ธันวาคม 2555

หมายเหตุ

- วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นช่วงสอบกลางภาคของมหาวิทยาลัย


                                                                     

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

  วัน อังคาร ที่ 18 ธันวาคม 2555

* หมายเหตุ

 - วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่อง จากคณะครูและบุคลากรมีกิจกรรมทางมหาวิทยาลัยได้จัดการแข่ง   ขันกีฬาบุคลากร ของ คณะ

- อาจารย์ให้นักศึกษาทำงานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จเรียบร้อยพร้อมที่จะส่งในอาทิตย์ต่อไปและให้นักศึกษาเตรียมตัวอ่านหนังสือสอบกลางภาค


ข้อมูลที่ได้ศึกษาเพิ่มเติม

 การจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ศิริลักษณ์ วุฒิสรรพ์ ( 2551: 28-29 ) กิจกรรมควรออกแบบให้กระตุ้นความคิดทางคณิตศาสตร์ ช่วยให้เด็กรู้สึกสบายๆ กับการแก้ปัญหา สร้างความรักความชอบต่อการทำคณิตศาสตร์ การประเมินผลเน้นการประเมินการจัดกิจกรรม และกิจกรรมต้องเน้นเด็กเป็นศูนย์กลางเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเด็ก เน้นการประสบการณ์ของเด็กเป็นรายบุคคล ปัญหาและคำตอบจะนำมาใช้ในแง่การวิเคราะห์และประเมินผล โดยการรวบรวมข้อมูลโดตัวเด็กเอง ครู ผู้ปกครอง การร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การรายงานผลการวิเคราะห์ให้กับผู้ปกครอง ตัวอย่างงานของเด็ก การบันทึกความก้าวหน้าของเด็กจะต้องมี กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับนิทาน เรื่องราวที่เป็นสถานการณ์เชื่อมโยงไปสู่การแก้ปัญหา ได้ทำกิจกรรมที่ช่วยให้เกิดการแก้ปัญหา รวมถึงกิจกรรมที่พัฒนาทักษะเกี่ยวกับการวัดความยาว พื้นที่ความจุปริมาตรและเวลา ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้การใช้ภาษา การจดบันทึกข้อมูล การคาดคะเนการประเมิน และวิธีการแสดงผลข้อมูล
กิจกรรมจะต้องกระตุ้นเด็กให้ใช้คณิตศาสตร์แก้โจทย์ปัญหา ได้ใช้การสื่อสารอธิบายความคิดทางคณิตศาสตร์ และสร้างแนวทางการใช้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ทำให้เด็กมีกิจกรรมที่มีความหมายในการสร้างสังคมของเด็ก ได้เชื่อมโยงประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์กับวิชาอื่นๆ ในโลกแห่งความจริง ได้รับการกระตุ้นให้เกิดการสื่อสาร โดยผ่านการตั้งคำถามและโต้ตอบเกี่ยวกับความคิดทางคณิตศาสตร์ และให้มีกิจกรรมเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ เช่น ให้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับกราฟหรือภาพแสดงข้อมูล ซึ่งจะช่วยสร้างทักษะการเรียงลำดับ การจัดประเภท การเปรียบเทียบความเหมือน ความต่าง ในขณะที่เด็กรวบรวมข้อมูลและจัดการกับข้อมูล ได้ทำการเปรียบเทียบและสรุปผล อาจทำกิจกรรมเป็นกลุ่มและรายบุคคล รวมถึงการทำการสำรวจสิ่งแวดล้อม ห้องเรียนและโรงเรียน มีกิจกรรมการจัดกลุ่มสิ่งของ การนับ การเขียนกราฟรูปภาพและใช้วิธีต่างๆ ในการรวบรวมข้อมูลและแสดงข้อมูล


กิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
การนับถือว่าเป็นคณิตศาสตร์ เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จักเด็ก จะเชื่อมโยงตัวเลขกับสิ่งต่างๆกิจกรรมที่เกี่ยวกับการนับควร ให้เด็ก ได้ฝึกจากประสบการณ์จริง อาจให้นับกระดุมเสื้อ นับ ต้นไม้ในสนาม นับหลอดด้าย เป็นต้น

ตัวอย่างกิจกรรม เพื่อฝึกการนับและแยกประเภท
จุดประสงค์ เพื่อฝึกการนับและการแยกประเภท
อุปกรณ์ 1. ส้ม 2-3 ผล
2. มะม่วง 2-3 ผล
3. เงาะ 2-3 ผล (เปลี่ยนเป็นผลไม้อื่น ๆ ได้ตามฤดูกาล)
4. การจาด 5. ผ้าสำหรับคลุม
ขั้นจัดกิจกรรม
1. ผู้เลี้ยงดูเด็กนำส้ม มะม่วง เงาะ ใส่กระจาด แล้วใช้ผ้าคลุมไว้
2. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาคลำและบอกว่าเป็นผลไม้อะไร
3. และถามว่าผลไม้ชนิดนั้นมีกี่ผล
4. เมื่อคลำจนครบ ผู้เลี้ยงดูเด็กเปิดผ้าคลุมออกให้เด็กบอกชื่อผลไม้ในกระจาดและช่วยกันนับจำนวนผลไม้
5. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาช่วยกันแยกประเภทผลไม้
การประเมินผล
สังเกต
1. จากการร่วมกิจกรรม
2. จากการสนทนาตอบคำถาม
3. จากการค้นหาคำตอบด้วยตนเอง การจับคู่ ถือว่าเป็นกิจกรรมเบื้องต้นของคณิตศาสตร์อีกกิจกรรมหนึ่ง


                       

วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6



วันอังคาร ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555   

เนื้อหาความรู้ที่ได้รับในวันนี้


- อาจารย์ให้นักศึกษาส่งแผนการสอน
- อาจารย์แจกกล่องขนาดต่างๆที่ได้จากของเหลือใช้ให้นักศึกษาคนละ 1 กล่อง 

- อาจารย์ตั้งคำถาม  2  แบบคือ
  1. นักศึกษาเห็นกล่องจากที่แจกให้แล้วนักศึกษานึกถึงอะไร
  2. นักศึกษาเห็นกล่องจากที่แจกให้แล้วนักศึกษาอยากให้กล่องเป็นอะไร
- นอกจากนี้แล้วกล่องยังสามารถนำไปเสริมประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์อะไรบ้าง
เช่น รูปทรง ขนาด พื้นที่ เรียงลำดับ จัดประเภท จับคู่ที่มีขนาด สี รูปทรงเหมือนกัน 
       การนับ การเปรียบเทียบ การวัด อนุกรม เซต เศษส่วน
- อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 10 คน  เป็น 2 กลุ่มใหญ่
 1. ให้นักศึกษานำกล่องของตนเองที่มีอยู่คนละ 1 ชิ้น มาวางต่อกันทีละคนโดยให้แต่ละคนคิดไว้ในใจว่า
     อยากจะต่อเป็นอะไร โดยไม่ต้อง  ปรึกษาเพื่อน 
 2. ให้นักศึกษานำกล่องของแต่ละคนในกลุ่มมารวมกันแล้วช่วยกันคิดภายในกลุ่มของตัวเองว่าจะต่อเป็นอะไรแล้วช่วยกันต่อ
 3. ให้นักศึกษานำสิ่งที่ต่อเสร็จแล้วทั้ง 2 กลุ่ม นำมาต่อรวมกันและต่อเป็นเรื่องราวโดยอาจารย์มีกล่องและวัสดุจากสิ่งของเหลือใช้ให้นำมาจัดเพิ่มเติม

สรุปการทำกิจกรรมจากการต่อกล่องนี้ 
- เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านคณิตศาสตร์และพัฒนาการด้านต่างๆที่สามารถนำสิ่งของที่หาได้ง่ายและจากสิ่งของเหลือใช้มาเป้นตัวที่ส่งเสริมให้เด็กได้คิดบูรณาการและให้เด็กได้คิดเชื่อมโยงในกิจกรรมนี้ก็สามารถให้เด้กได้รู้การคิด การแก้ปัญญา รู้ขนาด รู้พื้นที่ รู้รูปทรง รู้จำนวน รู้การวางตำแหน่ง และรู้ทิศทาง ฯลฯ
   
งานที่ได้รับมอบหมาย

 -  ให้นักศึกาานำฝาขวดน้ำสีขาว  คนละ 9 ฝา

 -  ให้นักศึกษาตัดกระดาษโปสเตอร์สีเหลือง  สีส้ม และสีชมพู   ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1นิ้ว 1.5นิ้ว และ 2 นิ้ว อย่างละ 3 ชิ้น



thattron thattron
                                                               

วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5


วัน อังคาร  ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เนื้อหาความรู้ที่ได้รับในวันนี้

อาจารย์ให้นำเสนองานในหน่วยของแต่ละกลุ่ม 
 - กลุ่มที่นำเสนองานเป็นตัวอย่าง "หน่วยส้ม"

งานที่ได้รับทำหน้าที่ของกลุ่มหน่วยข้าวโพด

ได้ทำที่ 1 (วันจันทร์)
- เนื้อหาและทักษะที่ส่งเสริมทางคณิตศาสตร์ใน 12 ข้อ

สิ่งที่มีในวันแรกคือ
  1. การนับ เช่น การนับจำนวนทั้งหมดของข้าวโพด
  2. ตัวเลข เช่น การใช้ตัวเลขอินดูอารบิกมาแทนค่า
  3. การจัดประเภท เช่น การจัดข้าวโพดแต่ละชนิดลงในตะกล้า
  4. การเปรียบเทียบ
  5. การจับคู่ (คือ การจับ 1 ต่อ 1)
  6. การทำตามแบบ เช่น การที่นำข้าวโพดแต่ละชนิดมาวางเป็นต้นแบบแล้วให้เด็กๆนาข้าวโพดมาวางต่อกันเหมือนกับต้นแบบแรกให้ตรงตามชนิดที่วางไว้
  7. การอนุรักษ์  
  สิ่งที่ไม่มีในวันแรก 
  1. เซต
  2. รูปทรง
  3. การวัด
  4. การจัดลำดับ
  5. เศษส่วน   
งานที่ได้รับมอบหมาย
ให้นักศึกษาเขียนแผนการสอนในหน่วยของแต่ละกลุ่ม คนละ 1 วัน





thattron



วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4


วัน อังคาร  ที่ 27  เดือน พฤศจิกายน  พ.ศ. 2555

เนื้อหาความรู้ที่ได้รับในวันนี้

         * อาจารย์ให้นักศึกษาส่งงาน Ming map ของแต่ละกลุ่ม
         * อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนองานกลุ่มของแต่ละกลุ่มและอาจารย์ได้แนะนำเพิ่มเติมในเนื้องาน
         -  การเขียน Mind Map  ที่ถูกต้องตามหลักต้องไม่มีการใส่วงเล็บ
         อาจารย์ให้นักศึกษาไปดูแบบการเขียน Mind Map ที่ถูกต้อง
         อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนองานเกี่ยวกับเรื่องที่ทำของแต่ละกลุ่ม  โดยให้เชื่อมโยงกับเนื้อหาและทักษะทางคณิตศาสตร์ทั้ง  12 ข้อ


งานที่ได้รับมอบหมาย
อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคนไปทำ Mind Map มาเป็นของตัวเอง(โดยใช้หน่วยสาระการเรียนของละกลุ่ม)





thattron  thattron