ภาพกิจกรรมและสื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

วัน อังคาร ที่ 20 พฤศจิกายน 2555

เนื้อหาความรู้ที่ได้รับวันนี้

  อาจารย์อธิบายงานแต่ละกลุ่มของการสร้างหน่วยการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
กลุ่มที่ 1 หน่วยกล้วย
เช่น  - ลักษณะ = รูปร่าง ขนาด พื้นผิว กลิ่น สี รสชาติ
        - ประเภท
        - ข้อควรระวัง
        - ประโยชน์
        - ส่วนประกอบ
        - การแปรรูป
           ฯลฯ
กลุ่มที่ 2 หน่วยส้ม
กลุ่มที่ 3 หน่วยไข่
กลุ่มที่ 4 หน่วยอะไรเป็นคณิตศาสตร์ (หน่วยนี้เป็นเนื้อหาสาระที่กว้างและยากให้เปลี่ยนเป็นหน่วยใหม่)

 หมายเหตุการสร้างหน่วยต้องคำนึงถึงสิ่งใด
 1. สิ่งที่ใกล้ตัวเด็กสิ่งที่ทำให้เด็กเกิดการรับรู้อย่างเข้าใจ
 2. ทฤษฎีที่เชื่อมโยงที่มีผลกระทบต่อตัวเด็ก



  เนื้อหาความรู้เพิ่มเติมที่อาจารย์อธิบายเพิ่ม
เนื้อหาหรือทักษะ
 (นิตยา ประพฤติกิจ. 2541:17- 19)
  1. การนับ (Counting)
  2. ตัวเลข (Number)
  3. การจับคู่ (Matching)
  4. การจัดประเภท (Classification)
  5. การเปรียบเทียบ (Comparing)
  6. การจัดลำดับ (Ordering)
  7. รูปทรง (Shape and Space)
  8. การวัด (Measurement)
  9. เซต (Set)
  10. เศษส่วน (Fraction)
  11. การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning)
  12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ (Conservation)
(เยาวพา เดชะคุปต์ . 2542:87 - 88)
  1. การจัดกลุ่มหรือเซต
  2. จำนวน 1-10 การฝึกนับ 1-10 จำนวนคู่จำนวนคี่
  3. ระบบจำนวน(Number System)
  4. ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่างๆ
  5. คุณสมบัติของคณิตศาสตร์จากการรวมกลุ่ม Properties of Math
  6. ลำดับที่=สำคัญและประโยชน์ได้แก่ประโยคคณิตศาสตร์ที่แสดงถึงจำนวนปริมาตร คุณภาพต่างๆเช่น มาก-น้อย-สูง-ต่ำ ฯลฯ *จะจัดลำดับที่-หาค่าก่อน-เปรียบเทียบ-จัดลำดับที่
  7. การวัด
  8. รูปทรงเรขาคณิต
  9. สถิติและกราฟ
หมายเหตุ 

งานที่ได้รับมอบหมาย
- แก้ไขและปรับปรุงสาระหน่วยการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์(งานกลุ่ม)
- คิดใน 12 ข้อ จะสอนอะไรในหน่วยของเรา

เนื้อหาความรู้ที่ได้ศึกษาเพิ่มเติม

 ความสำคัญของคณิตศาสตร์


-คณิตศาสตร์ เป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการคิดที่มีเหตุผลสามารถพิสูจน์ได้ เป็นเครื่องมือที่ใช้ฝึกการคิดอย่างมีระบบและวิธีการ สามารถสร้างสรรค์คนให้มีนิสัยละเอียดสุขมนอบคอบและนำไปสบู่สามารถนำไปใช้ใน ชีวิตประจำวันได้

การจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

-ศิริ ลักษณ์ วุฒิสรรพ์(2551 :28-29) กล่าวว่ากิจกรรมควรออกแบบให้กระตุ้นความคิดทางคณิตศาสตร์ ช่วยให้เด็กรุ้สึกสบายๆ กับการแก้ปัญหา กิจกรรมต้องเน้นเด็กเป็นศูนย์กลางเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเด็ก เน้นประสบการณ์ของเด็กเป็นรายบุคคล
-คณิตศาสตร์ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตประจำวันของเด็กในการเล่นและพูดคุยของเด็กนั้น มักจะมีเรื่องคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ จากคำพูดของเด็กที่เราได้ยินมักจะพบอยู่เสมอว่ามีการพูดถึงการเปรียบเทียบ การวัดและตัวเลข เช่น "เอาอันที่ใหญ่ที่สุดให้หนูน่ะ" "หนูจะเอาอันกลมๆนั่นละ" "โอ้โฮ อันี้ราคาตั้ง 10 บาท" ประโยคเหล่านี้ล้วนน่าสนใจและแสดงถึงการใช้คำศัพท์ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ มีทักษะและความรู้ทางคณิตศษสตร์ที่เป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาที่สูงขึ้น และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป

จุุดมุ่งหมายของการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์

นิตยา ประพฤติกิจ(2541:17-19) กล่วถึงจุดมุ่งหมายของการจัดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ไว้ดังนี้
1. เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวกหรือการเพิ่ม การลดหรือการลบ
2. เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการในการหาคำตอบ
3. เพื่อให้เด็กมีคววามเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
4. เพื่อให้เด้กฝึกฝนทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน
5. เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง
6. เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความรู้และอยากค้นคว้าทดลอง


                                              thattron        thattron


วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2


วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน 2555  
       
เนื้อหาความรู้ที่ได้รับในวันนี้

 - อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น  และให้นักศึกษาวาดรูปทำสัญลักษณ์แทนตัวเองรูปอะไรก็ได้พร้อมกับเขียนชื่อด้านล่างทำในแนวนอน
 - อาจารย์ให้นักศึกษานำชิ้นงานไปติดตามช่วงเวลาที่ตนมาเข้าเรียน โดยอาจารย์แบ่งช่วงเวลาดังนี้ 
   - ก่อนเที่ยง
   - เที่ยงตรง
   - หลังเที่ยง 
 ในกิจกรรมนี้ส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะทางคณิตศาสตร์ ดังนี้
1.รู้เกี่ยวกับรูปทรง
2.รู้เกี่ยวกับเวลา
3.รู้เกี่ยวกับการนับ
4.รู้เกี่ยวกับตัวเลข
5.รู้เกี่ยวกับจำนวนตัวเลข
6.การเปรียบเทียบ

7.การแทนค่า
       สื่อที่อาจารย์ให้ความรู้เพิ่มเติมและ 6 กิจกรรมหลักที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย

1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
    - สื่อที่เป็นเพลง เช่น    - เพลง 1 2 3 4

                                  - เพลงแมลงปอ 5 ตัว
- เด็กเรียนรู้เรื่องของการนับจำนวน  ทิศทาง การแทนค่า ตำแหน่งและอนุกรม
- เด็กเรียนรู้เรื่องของการนับจำนวน และการจำ

2. กิจกรรมเสรี เช่น เล่นผ่านมุมประสบการณ์ต่างๆ เช่น มุมบล็อค มุมคณิตศาสตร์  มุมวิทยาศาสตร์ เป็นต้น3. กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เช่น การวาดรูปตามจินตนาการของเด็ก
4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์

5. กิจกรรมกลางแจ้ง
          - เกมแบบผลัด
          - เกมเบ็ดเตล็ด
6. กิจกรรมเกมการศึกษา
          1.จับคู่ภาพเหมือน
          2. การเรียงลำดับ
          3. การจัดหมวดหมู่
          4. การต่อภาพให้สมบูรณ์ (Jigsaw)
          5. การวางภาพต่อปลาย (Domino)
          6. การสังเกตรายละเอียดของภาพ (Lotto)



  หมายเหตุ  - งานที่ได้รับมอบหมาย จับกลุ่ม 5 คน 
       - โบว์            - เปิ้ล 
       - เนย             - แก๊ป
       - อารี





วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1

 

   วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน 2555

การเรียนการสอนและความรู้ที่ได้รับวันนี้

  - อาจารย์ชี้แจ้งข้อตกลงการเรียนในรายวิชานี้
1. ย้ายห้องเรียนมาเรียนที่ห้อง 224
2. เปลี่ยนเวลาเป็น 12:00 - 15:00 น.
3. เข้าเรียนหลัง 12:00 น. ถือว่าสาย (เช็คสาย)
4. เข้าเรียนหลัง 12:15น. ถือว่า (เช็คขาด)

      - อาจาร์ย์ชี้แจงรายละเอียดและให้ข้อแนะนำเกี่ยวกับการลงทะเบียนเรียน การเก็บหน่วยกิตและวิชาเลือกเสรีต่างๆที่จะลงเรียนในแต่ละเทอมเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการลงเทอมสุดท้าย (ก่อนการออกไปฝึกสอน)
      - อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาเพื่อที่จะให้เขียน 2 หัวข้อ ดังนี้
1. ให้นักศึกษาเขียนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยตามที่เราเข้าใจและในความคิดของเราว่ามีความเข้าใจอย่างไร ( 1 ประโยค)
2. ให้เขียนนักศึกษาเขียนเกี่ยวกับวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยว่านักศึกษาต้องการได้อะไรจากวิชานี้

       - อาจารย์อธิบายถึงรายวิชา"การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย"

             งานที่มอบหมาย 

 -  ทำBlogger วิชานี้
 -  หาวิจัยที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก  5 บท
 -  หาบทความ
 -  ศึกษาโทรทัศน์ครู
 -  หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

หมายเหตุ ข้อมูลที่หาเพิ่มเติม

ทักษะทางคณิตศาสตร์ คือ ?
         ก่อนที่จะค้นหาวิธีส่งเสริมต่างๆ ให้กับเด็ก เราควรจะรู้ว่าทักษะทางคณิตศาสตร์นั้นหมายถึงเรื่องอะไรบ้า
  หลายคนเข้าใจว่าคณิตศาสตร์ คือ เรื่องของจำนวนและตัวเลขเท่านั้น แต่ความจริงแล้วคณิตศาสตร์มีเนื้อหาที่กว้างกว่านั้นมาก....เช่น
    • รูปทรง
    • การจับคู่
    • การชั่งตวงวัด
    • การเปรียบเทียบ
    • การจัดลำดับ
    • การจัดประเภท ฯลฯ

  เริ่มได้เมื่อไหร่ดี ....  การเรียนรู้ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กแต่ละวัยย่อมแตกต่างกันไป เราสามารถส่งเสริมเนื้อหาทางคณิตศาสตร์ได้ทุกด้านแต่ต่างกันตรงวิธีการค่ะสำหรับเด็กวัย 3- 4 ขวบ จำเป็นต้องเรียนคณิตศาสตร์ผ่านสิ่งที่เป็นรูปธรรมมากเพราะเขายังไม่เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น ให้เด็กสามขวบ ดูตัวเลข 2 กับ 3 แล้วเอาเครื่องหมายมากกว่าน้อยกว่าไปให้เขาใส่ เขาก็จะงงแน่นอน ว่าเจ้าสามเหลี่ยมปากกว้างนี้คืออะไร เด็กวัยนี้การเรียนเรื่องจำนวนตัวเลข ต้องผ่านสิ่งของที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ แต่ถ้าเป็นพี่ 5 หรือ 6 ขวบ จะเริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ได้แล้ว เรียนรู้ได้จากสิ่งใกล้ตัว
         คณิตศาสตร์มีอยู่ทุกหนทุกแห่งรอบตัวเรา  ในแต่ละวันเด็ก ๆ มีโอกาสที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเลข  จำนวน  รูปทรงเรขาคณิต การจับคู่ การแยกประเภท  ฯลฯ  เช่น การตื่นนอน (เรื่องของเวลา) การแต่งกาย (การจับคู่เสื่อผ้า)  การรับประทานอาหาร (การคาดคะเนปริมาณ) การเดินทาง(เวลา ตัวเลขที่สัญญาณไฟ ทิศทาง) การซื้อของ (เงิน การนับ การคำนวณ)  ฯลฯ เชื่อหรือยังคะว่าคณิตศาสตร์มีอยู่จริงในชีวิตประจำวัน......
 อ่านต่อได้ที่ 

ที่มา  :  แผนกอนุบาล  ฝ่ายการศึกษา อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
ผู้เขียน  : อ.กาญจนา  คงสวัสดิ์