ภาพกิจกรรมและสื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

วัน อังคาร ที่ 20 พฤศจิกายน 2555

เนื้อหาความรู้ที่ได้รับวันนี้

  อาจารย์อธิบายงานแต่ละกลุ่มของการสร้างหน่วยการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
กลุ่มที่ 1 หน่วยกล้วย
เช่น  - ลักษณะ = รูปร่าง ขนาด พื้นผิว กลิ่น สี รสชาติ
        - ประเภท
        - ข้อควรระวัง
        - ประโยชน์
        - ส่วนประกอบ
        - การแปรรูป
           ฯลฯ
กลุ่มที่ 2 หน่วยส้ม
กลุ่มที่ 3 หน่วยไข่
กลุ่มที่ 4 หน่วยอะไรเป็นคณิตศาสตร์ (หน่วยนี้เป็นเนื้อหาสาระที่กว้างและยากให้เปลี่ยนเป็นหน่วยใหม่)

 หมายเหตุการสร้างหน่วยต้องคำนึงถึงสิ่งใด
 1. สิ่งที่ใกล้ตัวเด็กสิ่งที่ทำให้เด็กเกิดการรับรู้อย่างเข้าใจ
 2. ทฤษฎีที่เชื่อมโยงที่มีผลกระทบต่อตัวเด็ก



  เนื้อหาความรู้เพิ่มเติมที่อาจารย์อธิบายเพิ่ม
เนื้อหาหรือทักษะ
 (นิตยา ประพฤติกิจ. 2541:17- 19)
  1. การนับ (Counting)
  2. ตัวเลข (Number)
  3. การจับคู่ (Matching)
  4. การจัดประเภท (Classification)
  5. การเปรียบเทียบ (Comparing)
  6. การจัดลำดับ (Ordering)
  7. รูปทรง (Shape and Space)
  8. การวัด (Measurement)
  9. เซต (Set)
  10. เศษส่วน (Fraction)
  11. การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning)
  12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ (Conservation)
(เยาวพา เดชะคุปต์ . 2542:87 - 88)
  1. การจัดกลุ่มหรือเซต
  2. จำนวน 1-10 การฝึกนับ 1-10 จำนวนคู่จำนวนคี่
  3. ระบบจำนวน(Number System)
  4. ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่างๆ
  5. คุณสมบัติของคณิตศาสตร์จากการรวมกลุ่ม Properties of Math
  6. ลำดับที่=สำคัญและประโยชน์ได้แก่ประโยคคณิตศาสตร์ที่แสดงถึงจำนวนปริมาตร คุณภาพต่างๆเช่น มาก-น้อย-สูง-ต่ำ ฯลฯ *จะจัดลำดับที่-หาค่าก่อน-เปรียบเทียบ-จัดลำดับที่
  7. การวัด
  8. รูปทรงเรขาคณิต
  9. สถิติและกราฟ
หมายเหตุ 

งานที่ได้รับมอบหมาย
- แก้ไขและปรับปรุงสาระหน่วยการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์(งานกลุ่ม)
- คิดใน 12 ข้อ จะสอนอะไรในหน่วยของเรา

เนื้อหาความรู้ที่ได้ศึกษาเพิ่มเติม

 ความสำคัญของคณิตศาสตร์


-คณิตศาสตร์ เป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการคิดที่มีเหตุผลสามารถพิสูจน์ได้ เป็นเครื่องมือที่ใช้ฝึกการคิดอย่างมีระบบและวิธีการ สามารถสร้างสรรค์คนให้มีนิสัยละเอียดสุขมนอบคอบและนำไปสบู่สามารถนำไปใช้ใน ชีวิตประจำวันได้

การจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

-ศิริ ลักษณ์ วุฒิสรรพ์(2551 :28-29) กล่าวว่ากิจกรรมควรออกแบบให้กระตุ้นความคิดทางคณิตศาสตร์ ช่วยให้เด็กรุ้สึกสบายๆ กับการแก้ปัญหา กิจกรรมต้องเน้นเด็กเป็นศูนย์กลางเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเด็ก เน้นประสบการณ์ของเด็กเป็นรายบุคคล
-คณิตศาสตร์ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตประจำวันของเด็กในการเล่นและพูดคุยของเด็กนั้น มักจะมีเรื่องคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ จากคำพูดของเด็กที่เราได้ยินมักจะพบอยู่เสมอว่ามีการพูดถึงการเปรียบเทียบ การวัดและตัวเลข เช่น "เอาอันที่ใหญ่ที่สุดให้หนูน่ะ" "หนูจะเอาอันกลมๆนั่นละ" "โอ้โฮ อันี้ราคาตั้ง 10 บาท" ประโยคเหล่านี้ล้วนน่าสนใจและแสดงถึงการใช้คำศัพท์ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ มีทักษะและความรู้ทางคณิตศษสตร์ที่เป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาที่สูงขึ้น และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป

จุุดมุ่งหมายของการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์

นิตยา ประพฤติกิจ(2541:17-19) กล่วถึงจุดมุ่งหมายของการจัดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ไว้ดังนี้
1. เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวกหรือการเพิ่ม การลดหรือการลบ
2. เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการในการหาคำตอบ
3. เพื่อให้เด็กมีคววามเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
4. เพื่อให้เด้กฝึกฝนทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน
5. เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง
6. เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความรู้และอยากค้นคว้าทดลอง


                                              thattron        thattron


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น