ภาพกิจกรรมและสื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1

 

   วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน 2555

การเรียนการสอนและความรู้ที่ได้รับวันนี้

  - อาจารย์ชี้แจ้งข้อตกลงการเรียนในรายวิชานี้
1. ย้ายห้องเรียนมาเรียนที่ห้อง 224
2. เปลี่ยนเวลาเป็น 12:00 - 15:00 น.
3. เข้าเรียนหลัง 12:00 น. ถือว่าสาย (เช็คสาย)
4. เข้าเรียนหลัง 12:15น. ถือว่า (เช็คขาด)

      - อาจาร์ย์ชี้แจงรายละเอียดและให้ข้อแนะนำเกี่ยวกับการลงทะเบียนเรียน การเก็บหน่วยกิตและวิชาเลือกเสรีต่างๆที่จะลงเรียนในแต่ละเทอมเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการลงเทอมสุดท้าย (ก่อนการออกไปฝึกสอน)
      - อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาเพื่อที่จะให้เขียน 2 หัวข้อ ดังนี้
1. ให้นักศึกษาเขียนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยตามที่เราเข้าใจและในความคิดของเราว่ามีความเข้าใจอย่างไร ( 1 ประโยค)
2. ให้เขียนนักศึกษาเขียนเกี่ยวกับวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยว่านักศึกษาต้องการได้อะไรจากวิชานี้

       - อาจารย์อธิบายถึงรายวิชา"การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย"

             งานที่มอบหมาย 

 -  ทำBlogger วิชานี้
 -  หาวิจัยที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก  5 บท
 -  หาบทความ
 -  ศึกษาโทรทัศน์ครู
 -  หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

หมายเหตุ ข้อมูลที่หาเพิ่มเติม

ทักษะทางคณิตศาสตร์ คือ ?
         ก่อนที่จะค้นหาวิธีส่งเสริมต่างๆ ให้กับเด็ก เราควรจะรู้ว่าทักษะทางคณิตศาสตร์นั้นหมายถึงเรื่องอะไรบ้า
  หลายคนเข้าใจว่าคณิตศาสตร์ คือ เรื่องของจำนวนและตัวเลขเท่านั้น แต่ความจริงแล้วคณิตศาสตร์มีเนื้อหาที่กว้างกว่านั้นมาก....เช่น
    • รูปทรง
    • การจับคู่
    • การชั่งตวงวัด
    • การเปรียบเทียบ
    • การจัดลำดับ
    • การจัดประเภท ฯลฯ

  เริ่มได้เมื่อไหร่ดี ....  การเรียนรู้ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กแต่ละวัยย่อมแตกต่างกันไป เราสามารถส่งเสริมเนื้อหาทางคณิตศาสตร์ได้ทุกด้านแต่ต่างกันตรงวิธีการค่ะสำหรับเด็กวัย 3- 4 ขวบ จำเป็นต้องเรียนคณิตศาสตร์ผ่านสิ่งที่เป็นรูปธรรมมากเพราะเขายังไม่เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น ให้เด็กสามขวบ ดูตัวเลข 2 กับ 3 แล้วเอาเครื่องหมายมากกว่าน้อยกว่าไปให้เขาใส่ เขาก็จะงงแน่นอน ว่าเจ้าสามเหลี่ยมปากกว้างนี้คืออะไร เด็กวัยนี้การเรียนเรื่องจำนวนตัวเลข ต้องผ่านสิ่งของที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ แต่ถ้าเป็นพี่ 5 หรือ 6 ขวบ จะเริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ได้แล้ว เรียนรู้ได้จากสิ่งใกล้ตัว
         คณิตศาสตร์มีอยู่ทุกหนทุกแห่งรอบตัวเรา  ในแต่ละวันเด็ก ๆ มีโอกาสที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเลข  จำนวน  รูปทรงเรขาคณิต การจับคู่ การแยกประเภท  ฯลฯ  เช่น การตื่นนอน (เรื่องของเวลา) การแต่งกาย (การจับคู่เสื่อผ้า)  การรับประทานอาหาร (การคาดคะเนปริมาณ) การเดินทาง(เวลา ตัวเลขที่สัญญาณไฟ ทิศทาง) การซื้อของ (เงิน การนับ การคำนวณ)  ฯลฯ เชื่อหรือยังคะว่าคณิตศาสตร์มีอยู่จริงในชีวิตประจำวัน......
 อ่านต่อได้ที่ 

ที่มา  :  แผนกอนุบาล  ฝ่ายการศึกษา อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
ผู้เขียน  : อ.กาญจนา  คงสวัสดิ์ 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น