วัน อังคาร ที่ 20 พฤศจิกายน 2555
เนื้อหาความรู้ที่ได้รับวันนี้
อาจารย์อธิบายงานแต่ละกลุ่มของการสร้างหน่วยการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
กลุ่มที่ 1 หน่วยกล้วย
เช่น - ลักษณะ = รูปร่าง ขนาด พื้นผิว กลิ่น สี รสชาติ
- ประเภท
- ข้อควรระวัง
- ประโยชน์
- ส่วนประกอบ
- การแปรรูป
ฯลฯ
กลุ่มที่ 2 หน่วยส้ม
กลุ่มที่ 3 หน่วยไข่
กลุ่มที่ 4 หน่วยอะไรเป็นคณิตศาสตร์ (หน่วยนี้เป็นเนื้อหาสาระที่กว้างและยากให้เปลี่ยนเป็นหน่วยใหม่)
หมายเหตุการสร้างหน่วยต้องคำนึงถึงสิ่งใด
1. สิ่งที่ใกล้ตัวเด็กสิ่งที่ทำให้เด็กเกิดการรับรู้อย่างเข้าใจ
2. ทฤษฎีที่เชื่อมโยงที่มีผลกระทบต่อตัวเด็ก
เนื้อหาความรู้เพิ่มเติมที่อาจารย์อธิบายเพิ่ม
เนื้อหาหรือทักษะ
(นิตยา ประพฤติกิจ. 2541:17- 19)
- การนับ (Counting)
- ตัวเลข (Number)
- การจับคู่ (Matching)
- การจัดประเภท (Classification)
- การเปรียบเทียบ (Comparing)
- การจัดลำดับ (Ordering)
- รูปทรง (Shape and Space)
- การวัด (Measurement)
- เซต (Set)
- เศษส่วน (Fraction)
- การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning)
- การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ (Conservation)
(เยาวพา เดชะคุปต์ . 2542:87 - 88)
- การจัดกลุ่มหรือเซต
- จำนวน 1-10 การฝึกนับ 1-10 จำนวนคู่จำนวนคี่
- ระบบจำนวน(Number System)
- ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่างๆ
- คุณสมบัติของคณิตศาสตร์จากการรวมกลุ่ม Properties of Math
- ลำดับที่=สำคัญและประโยชน์ได้แก่ประโยคคณิตศาสตร์ที่แสดงถึงจำนวนปริมาตร คุณภาพต่างๆเช่น มาก-น้อย-สูง-ต่ำ ฯลฯ *จะจัดลำดับที่-หาค่าก่อน-เปรียบเทียบ-จัดลำดับที่
- การวัด
- รูปทรงเรขาคณิต
- สถิติและกราฟ
งานที่ได้รับมอบหมาย
- แก้ไขและปรับปรุงสาระหน่วยการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์(งานกลุ่ม)
- คิดใน 12 ข้อ จะสอนอะไรในหน่วยของเรา
เนื้อหาความรู้ที่ได้ศึกษาเพิ่มเติม
-คณิตศาสตร์ เป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการคิดที่มีเหตุผลสามารถพิสูจน์ได้ เป็นเครื่องมือที่ใช้ฝึกการคิดอย่างมีระบบและวิธีการ สามารถสร้างสรรค์คนให้มีนิสัยละเอียดสุขมนอบคอบและนำไปสบู่สามารถนำไปใช้ใน ชีวิตประจำวันได้
การจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-ศิริ ลักษณ์ วุฒิสรรพ์(2551 :28-29) กล่าวว่ากิจกรรมควรออกแบบให้กระตุ้นความคิดทางคณิตศาสตร์ ช่วยให้เด็กรุ้สึกสบายๆ กับการแก้ปัญหา กิจกรรมต้องเน้นเด็กเป็นศูนย์กลางเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเด็ก เน้นประสบการณ์ของเด็กเป็นรายบุคคล
-คณิตศาสตร์ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตประจำวันของเด็กในการเล่นและพูดคุยของเด็กนั้น มักจะมีเรื่องคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ จากคำพูดของเด็กที่เราได้ยินมักจะพบอยู่เสมอว่ามีการพูดถึงการเปรียบเทียบ การวัดและตัวเลข เช่น "เอาอันที่ใหญ่ที่สุดให้หนูน่ะ" "หนูจะเอาอันกลมๆนั่นละ" "โอ้โฮ อันี้ราคาตั้ง 10 บาท" ประโยคเหล่านี้ล้วนน่าสนใจและแสดงถึงการใช้คำศัพท์ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ มีทักษะและความรู้ทางคณิตศษสตร์ที่เป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาที่สูงขึ้น และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป
จุุดมุ่งหมายของการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์
นิตยา ประพฤติกิจ(2541:17-19) กล่วถึงจุดมุ่งหมายของการจัดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ไว้ดังนี้
1. เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวกหรือการเพิ่ม การลดหรือการลบ
2. เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการในการหาคำตอบ
3. เพื่อให้เด็กมีคววามเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
4. เพื่อให้เด้กฝึกฝนทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน
5. เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง
6. เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความรู้และอยากค้นคว้าทดลอง