ภาพกิจกรรมและสื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8


  วัน อังคาร ที่ 25 ธันวาคม 2555

หมายเหตุ

- วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นช่วงสอบกลางภาคของมหาวิทยาลัย


                                                                     

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

  วัน อังคาร ที่ 18 ธันวาคม 2555

* หมายเหตุ

 - วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่อง จากคณะครูและบุคลากรมีกิจกรรมทางมหาวิทยาลัยได้จัดการแข่ง   ขันกีฬาบุคลากร ของ คณะ

- อาจารย์ให้นักศึกษาทำงานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จเรียบร้อยพร้อมที่จะส่งในอาทิตย์ต่อไปและให้นักศึกษาเตรียมตัวอ่านหนังสือสอบกลางภาค


ข้อมูลที่ได้ศึกษาเพิ่มเติม

 การจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ศิริลักษณ์ วุฒิสรรพ์ ( 2551: 28-29 ) กิจกรรมควรออกแบบให้กระตุ้นความคิดทางคณิตศาสตร์ ช่วยให้เด็กรู้สึกสบายๆ กับการแก้ปัญหา สร้างความรักความชอบต่อการทำคณิตศาสตร์ การประเมินผลเน้นการประเมินการจัดกิจกรรม และกิจกรรมต้องเน้นเด็กเป็นศูนย์กลางเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเด็ก เน้นการประสบการณ์ของเด็กเป็นรายบุคคล ปัญหาและคำตอบจะนำมาใช้ในแง่การวิเคราะห์และประเมินผล โดยการรวบรวมข้อมูลโดตัวเด็กเอง ครู ผู้ปกครอง การร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การรายงานผลการวิเคราะห์ให้กับผู้ปกครอง ตัวอย่างงานของเด็ก การบันทึกความก้าวหน้าของเด็กจะต้องมี กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับนิทาน เรื่องราวที่เป็นสถานการณ์เชื่อมโยงไปสู่การแก้ปัญหา ได้ทำกิจกรรมที่ช่วยให้เกิดการแก้ปัญหา รวมถึงกิจกรรมที่พัฒนาทักษะเกี่ยวกับการวัดความยาว พื้นที่ความจุปริมาตรและเวลา ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้การใช้ภาษา การจดบันทึกข้อมูล การคาดคะเนการประเมิน และวิธีการแสดงผลข้อมูล
กิจกรรมจะต้องกระตุ้นเด็กให้ใช้คณิตศาสตร์แก้โจทย์ปัญหา ได้ใช้การสื่อสารอธิบายความคิดทางคณิตศาสตร์ และสร้างแนวทางการใช้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ทำให้เด็กมีกิจกรรมที่มีความหมายในการสร้างสังคมของเด็ก ได้เชื่อมโยงประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์กับวิชาอื่นๆ ในโลกแห่งความจริง ได้รับการกระตุ้นให้เกิดการสื่อสาร โดยผ่านการตั้งคำถามและโต้ตอบเกี่ยวกับความคิดทางคณิตศาสตร์ และให้มีกิจกรรมเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ เช่น ให้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับกราฟหรือภาพแสดงข้อมูล ซึ่งจะช่วยสร้างทักษะการเรียงลำดับ การจัดประเภท การเปรียบเทียบความเหมือน ความต่าง ในขณะที่เด็กรวบรวมข้อมูลและจัดการกับข้อมูล ได้ทำการเปรียบเทียบและสรุปผล อาจทำกิจกรรมเป็นกลุ่มและรายบุคคล รวมถึงการทำการสำรวจสิ่งแวดล้อม ห้องเรียนและโรงเรียน มีกิจกรรมการจัดกลุ่มสิ่งของ การนับ การเขียนกราฟรูปภาพและใช้วิธีต่างๆ ในการรวบรวมข้อมูลและแสดงข้อมูล


กิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
การนับถือว่าเป็นคณิตศาสตร์ เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จักเด็ก จะเชื่อมโยงตัวเลขกับสิ่งต่างๆกิจกรรมที่เกี่ยวกับการนับควร ให้เด็ก ได้ฝึกจากประสบการณ์จริง อาจให้นับกระดุมเสื้อ นับ ต้นไม้ในสนาม นับหลอดด้าย เป็นต้น

ตัวอย่างกิจกรรม เพื่อฝึกการนับและแยกประเภท
จุดประสงค์ เพื่อฝึกการนับและการแยกประเภท
อุปกรณ์ 1. ส้ม 2-3 ผล
2. มะม่วง 2-3 ผล
3. เงาะ 2-3 ผล (เปลี่ยนเป็นผลไม้อื่น ๆ ได้ตามฤดูกาล)
4. การจาด 5. ผ้าสำหรับคลุม
ขั้นจัดกิจกรรม
1. ผู้เลี้ยงดูเด็กนำส้ม มะม่วง เงาะ ใส่กระจาด แล้วใช้ผ้าคลุมไว้
2. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาคลำและบอกว่าเป็นผลไม้อะไร
3. และถามว่าผลไม้ชนิดนั้นมีกี่ผล
4. เมื่อคลำจนครบ ผู้เลี้ยงดูเด็กเปิดผ้าคลุมออกให้เด็กบอกชื่อผลไม้ในกระจาดและช่วยกันนับจำนวนผลไม้
5. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาช่วยกันแยกประเภทผลไม้
การประเมินผล
สังเกต
1. จากการร่วมกิจกรรม
2. จากการสนทนาตอบคำถาม
3. จากการค้นหาคำตอบด้วยตนเอง การจับคู่ ถือว่าเป็นกิจกรรมเบื้องต้นของคณิตศาสตร์อีกกิจกรรมหนึ่ง


                       

วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6



วันอังคาร ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555   

เนื้อหาความรู้ที่ได้รับในวันนี้


- อาจารย์ให้นักศึกษาส่งแผนการสอน
- อาจารย์แจกกล่องขนาดต่างๆที่ได้จากของเหลือใช้ให้นักศึกษาคนละ 1 กล่อง 

- อาจารย์ตั้งคำถาม  2  แบบคือ
  1. นักศึกษาเห็นกล่องจากที่แจกให้แล้วนักศึกษานึกถึงอะไร
  2. นักศึกษาเห็นกล่องจากที่แจกให้แล้วนักศึกษาอยากให้กล่องเป็นอะไร
- นอกจากนี้แล้วกล่องยังสามารถนำไปเสริมประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์อะไรบ้าง
เช่น รูปทรง ขนาด พื้นที่ เรียงลำดับ จัดประเภท จับคู่ที่มีขนาด สี รูปทรงเหมือนกัน 
       การนับ การเปรียบเทียบ การวัด อนุกรม เซต เศษส่วน
- อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 10 คน  เป็น 2 กลุ่มใหญ่
 1. ให้นักศึกษานำกล่องของตนเองที่มีอยู่คนละ 1 ชิ้น มาวางต่อกันทีละคนโดยให้แต่ละคนคิดไว้ในใจว่า
     อยากจะต่อเป็นอะไร โดยไม่ต้อง  ปรึกษาเพื่อน 
 2. ให้นักศึกษานำกล่องของแต่ละคนในกลุ่มมารวมกันแล้วช่วยกันคิดภายในกลุ่มของตัวเองว่าจะต่อเป็นอะไรแล้วช่วยกันต่อ
 3. ให้นักศึกษานำสิ่งที่ต่อเสร็จแล้วทั้ง 2 กลุ่ม นำมาต่อรวมกันและต่อเป็นเรื่องราวโดยอาจารย์มีกล่องและวัสดุจากสิ่งของเหลือใช้ให้นำมาจัดเพิ่มเติม

สรุปการทำกิจกรรมจากการต่อกล่องนี้ 
- เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านคณิตศาสตร์และพัฒนาการด้านต่างๆที่สามารถนำสิ่งของที่หาได้ง่ายและจากสิ่งของเหลือใช้มาเป้นตัวที่ส่งเสริมให้เด็กได้คิดบูรณาการและให้เด็กได้คิดเชื่อมโยงในกิจกรรมนี้ก็สามารถให้เด้กได้รู้การคิด การแก้ปัญญา รู้ขนาด รู้พื้นที่ รู้รูปทรง รู้จำนวน รู้การวางตำแหน่ง และรู้ทิศทาง ฯลฯ
   
งานที่ได้รับมอบหมาย

 -  ให้นักศึกาานำฝาขวดน้ำสีขาว  คนละ 9 ฝา

 -  ให้นักศึกษาตัดกระดาษโปสเตอร์สีเหลือง  สีส้ม และสีชมพู   ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1นิ้ว 1.5นิ้ว และ 2 นิ้ว อย่างละ 3 ชิ้น



thattron thattron
                                                               

วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5


วัน อังคาร  ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เนื้อหาความรู้ที่ได้รับในวันนี้

อาจารย์ให้นำเสนองานในหน่วยของแต่ละกลุ่ม 
 - กลุ่มที่นำเสนองานเป็นตัวอย่าง "หน่วยส้ม"

งานที่ได้รับทำหน้าที่ของกลุ่มหน่วยข้าวโพด

ได้ทำที่ 1 (วันจันทร์)
- เนื้อหาและทักษะที่ส่งเสริมทางคณิตศาสตร์ใน 12 ข้อ

สิ่งที่มีในวันแรกคือ
  1. การนับ เช่น การนับจำนวนทั้งหมดของข้าวโพด
  2. ตัวเลข เช่น การใช้ตัวเลขอินดูอารบิกมาแทนค่า
  3. การจัดประเภท เช่น การจัดข้าวโพดแต่ละชนิดลงในตะกล้า
  4. การเปรียบเทียบ
  5. การจับคู่ (คือ การจับ 1 ต่อ 1)
  6. การทำตามแบบ เช่น การที่นำข้าวโพดแต่ละชนิดมาวางเป็นต้นแบบแล้วให้เด็กๆนาข้าวโพดมาวางต่อกันเหมือนกับต้นแบบแรกให้ตรงตามชนิดที่วางไว้
  7. การอนุรักษ์  
  สิ่งที่ไม่มีในวันแรก 
  1. เซต
  2. รูปทรง
  3. การวัด
  4. การจัดลำดับ
  5. เศษส่วน   
งานที่ได้รับมอบหมาย
ให้นักศึกษาเขียนแผนการสอนในหน่วยของแต่ละกลุ่ม คนละ 1 วัน





thattron



วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4


วัน อังคาร  ที่ 27  เดือน พฤศจิกายน  พ.ศ. 2555

เนื้อหาความรู้ที่ได้รับในวันนี้

         * อาจารย์ให้นักศึกษาส่งงาน Ming map ของแต่ละกลุ่ม
         * อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนองานกลุ่มของแต่ละกลุ่มและอาจารย์ได้แนะนำเพิ่มเติมในเนื้องาน
         -  การเขียน Mind Map  ที่ถูกต้องตามหลักต้องไม่มีการใส่วงเล็บ
         อาจารย์ให้นักศึกษาไปดูแบบการเขียน Mind Map ที่ถูกต้อง
         อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนองานเกี่ยวกับเรื่องที่ทำของแต่ละกลุ่ม  โดยให้เชื่อมโยงกับเนื้อหาและทักษะทางคณิตศาสตร์ทั้ง  12 ข้อ


งานที่ได้รับมอบหมาย
อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคนไปทำ Mind Map มาเป็นของตัวเอง(โดยใช้หน่วยสาระการเรียนของละกลุ่ม)





thattron  thattron
   

วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

วัน อังคาร ที่ 20 พฤศจิกายน 2555

เนื้อหาความรู้ที่ได้รับวันนี้

  อาจารย์อธิบายงานแต่ละกลุ่มของการสร้างหน่วยการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
กลุ่มที่ 1 หน่วยกล้วย
เช่น  - ลักษณะ = รูปร่าง ขนาด พื้นผิว กลิ่น สี รสชาติ
        - ประเภท
        - ข้อควรระวัง
        - ประโยชน์
        - ส่วนประกอบ
        - การแปรรูป
           ฯลฯ
กลุ่มที่ 2 หน่วยส้ม
กลุ่มที่ 3 หน่วยไข่
กลุ่มที่ 4 หน่วยอะไรเป็นคณิตศาสตร์ (หน่วยนี้เป็นเนื้อหาสาระที่กว้างและยากให้เปลี่ยนเป็นหน่วยใหม่)

 หมายเหตุการสร้างหน่วยต้องคำนึงถึงสิ่งใด
 1. สิ่งที่ใกล้ตัวเด็กสิ่งที่ทำให้เด็กเกิดการรับรู้อย่างเข้าใจ
 2. ทฤษฎีที่เชื่อมโยงที่มีผลกระทบต่อตัวเด็ก



  เนื้อหาความรู้เพิ่มเติมที่อาจารย์อธิบายเพิ่ม
เนื้อหาหรือทักษะ
 (นิตยา ประพฤติกิจ. 2541:17- 19)
  1. การนับ (Counting)
  2. ตัวเลข (Number)
  3. การจับคู่ (Matching)
  4. การจัดประเภท (Classification)
  5. การเปรียบเทียบ (Comparing)
  6. การจัดลำดับ (Ordering)
  7. รูปทรง (Shape and Space)
  8. การวัด (Measurement)
  9. เซต (Set)
  10. เศษส่วน (Fraction)
  11. การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning)
  12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ (Conservation)
(เยาวพา เดชะคุปต์ . 2542:87 - 88)
  1. การจัดกลุ่มหรือเซต
  2. จำนวน 1-10 การฝึกนับ 1-10 จำนวนคู่จำนวนคี่
  3. ระบบจำนวน(Number System)
  4. ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่างๆ
  5. คุณสมบัติของคณิตศาสตร์จากการรวมกลุ่ม Properties of Math
  6. ลำดับที่=สำคัญและประโยชน์ได้แก่ประโยคคณิตศาสตร์ที่แสดงถึงจำนวนปริมาตร คุณภาพต่างๆเช่น มาก-น้อย-สูง-ต่ำ ฯลฯ *จะจัดลำดับที่-หาค่าก่อน-เปรียบเทียบ-จัดลำดับที่
  7. การวัด
  8. รูปทรงเรขาคณิต
  9. สถิติและกราฟ
หมายเหตุ 

งานที่ได้รับมอบหมาย
- แก้ไขและปรับปรุงสาระหน่วยการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์(งานกลุ่ม)
- คิดใน 12 ข้อ จะสอนอะไรในหน่วยของเรา

เนื้อหาความรู้ที่ได้ศึกษาเพิ่มเติม

 ความสำคัญของคณิตศาสตร์


-คณิตศาสตร์ เป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการคิดที่มีเหตุผลสามารถพิสูจน์ได้ เป็นเครื่องมือที่ใช้ฝึกการคิดอย่างมีระบบและวิธีการ สามารถสร้างสรรค์คนให้มีนิสัยละเอียดสุขมนอบคอบและนำไปสบู่สามารถนำไปใช้ใน ชีวิตประจำวันได้

การจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

-ศิริ ลักษณ์ วุฒิสรรพ์(2551 :28-29) กล่าวว่ากิจกรรมควรออกแบบให้กระตุ้นความคิดทางคณิตศาสตร์ ช่วยให้เด็กรุ้สึกสบายๆ กับการแก้ปัญหา กิจกรรมต้องเน้นเด็กเป็นศูนย์กลางเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเด็ก เน้นประสบการณ์ของเด็กเป็นรายบุคคล
-คณิตศาสตร์ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตประจำวันของเด็กในการเล่นและพูดคุยของเด็กนั้น มักจะมีเรื่องคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ จากคำพูดของเด็กที่เราได้ยินมักจะพบอยู่เสมอว่ามีการพูดถึงการเปรียบเทียบ การวัดและตัวเลข เช่น "เอาอันที่ใหญ่ที่สุดให้หนูน่ะ" "หนูจะเอาอันกลมๆนั่นละ" "โอ้โฮ อันี้ราคาตั้ง 10 บาท" ประโยคเหล่านี้ล้วนน่าสนใจและแสดงถึงการใช้คำศัพท์ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ มีทักษะและความรู้ทางคณิตศษสตร์ที่เป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาที่สูงขึ้น และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป

จุุดมุ่งหมายของการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์

นิตยา ประพฤติกิจ(2541:17-19) กล่วถึงจุดมุ่งหมายของการจัดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ไว้ดังนี้
1. เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวกหรือการเพิ่ม การลดหรือการลบ
2. เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการในการหาคำตอบ
3. เพื่อให้เด็กมีคววามเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
4. เพื่อให้เด้กฝึกฝนทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน
5. เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง
6. เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความรู้และอยากค้นคว้าทดลอง


                                              thattron        thattron


วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2


วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน 2555  
       
เนื้อหาความรู้ที่ได้รับในวันนี้

 - อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น  และให้นักศึกษาวาดรูปทำสัญลักษณ์แทนตัวเองรูปอะไรก็ได้พร้อมกับเขียนชื่อด้านล่างทำในแนวนอน
 - อาจารย์ให้นักศึกษานำชิ้นงานไปติดตามช่วงเวลาที่ตนมาเข้าเรียน โดยอาจารย์แบ่งช่วงเวลาดังนี้ 
   - ก่อนเที่ยง
   - เที่ยงตรง
   - หลังเที่ยง 
 ในกิจกรรมนี้ส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะทางคณิตศาสตร์ ดังนี้
1.รู้เกี่ยวกับรูปทรง
2.รู้เกี่ยวกับเวลา
3.รู้เกี่ยวกับการนับ
4.รู้เกี่ยวกับตัวเลข
5.รู้เกี่ยวกับจำนวนตัวเลข
6.การเปรียบเทียบ

7.การแทนค่า
       สื่อที่อาจารย์ให้ความรู้เพิ่มเติมและ 6 กิจกรรมหลักที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย

1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
    - สื่อที่เป็นเพลง เช่น    - เพลง 1 2 3 4

                                  - เพลงแมลงปอ 5 ตัว
- เด็กเรียนรู้เรื่องของการนับจำนวน  ทิศทาง การแทนค่า ตำแหน่งและอนุกรม
- เด็กเรียนรู้เรื่องของการนับจำนวน และการจำ

2. กิจกรรมเสรี เช่น เล่นผ่านมุมประสบการณ์ต่างๆ เช่น มุมบล็อค มุมคณิตศาสตร์  มุมวิทยาศาสตร์ เป็นต้น3. กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เช่น การวาดรูปตามจินตนาการของเด็ก
4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์

5. กิจกรรมกลางแจ้ง
          - เกมแบบผลัด
          - เกมเบ็ดเตล็ด
6. กิจกรรมเกมการศึกษา
          1.จับคู่ภาพเหมือน
          2. การเรียงลำดับ
          3. การจัดหมวดหมู่
          4. การต่อภาพให้สมบูรณ์ (Jigsaw)
          5. การวางภาพต่อปลาย (Domino)
          6. การสังเกตรายละเอียดของภาพ (Lotto)



  หมายเหตุ  - งานที่ได้รับมอบหมาย จับกลุ่ม 5 คน 
       - โบว์            - เปิ้ล 
       - เนย             - แก๊ป
       - อารี





วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1

 

   วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน 2555

การเรียนการสอนและความรู้ที่ได้รับวันนี้

  - อาจารย์ชี้แจ้งข้อตกลงการเรียนในรายวิชานี้
1. ย้ายห้องเรียนมาเรียนที่ห้อง 224
2. เปลี่ยนเวลาเป็น 12:00 - 15:00 น.
3. เข้าเรียนหลัง 12:00 น. ถือว่าสาย (เช็คสาย)
4. เข้าเรียนหลัง 12:15น. ถือว่า (เช็คขาด)

      - อาจาร์ย์ชี้แจงรายละเอียดและให้ข้อแนะนำเกี่ยวกับการลงทะเบียนเรียน การเก็บหน่วยกิตและวิชาเลือกเสรีต่างๆที่จะลงเรียนในแต่ละเทอมเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการลงเทอมสุดท้าย (ก่อนการออกไปฝึกสอน)
      - อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาเพื่อที่จะให้เขียน 2 หัวข้อ ดังนี้
1. ให้นักศึกษาเขียนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยตามที่เราเข้าใจและในความคิดของเราว่ามีความเข้าใจอย่างไร ( 1 ประโยค)
2. ให้เขียนนักศึกษาเขียนเกี่ยวกับวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยว่านักศึกษาต้องการได้อะไรจากวิชานี้

       - อาจารย์อธิบายถึงรายวิชา"การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย"

             งานที่มอบหมาย 

 -  ทำBlogger วิชานี้
 -  หาวิจัยที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก  5 บท
 -  หาบทความ
 -  ศึกษาโทรทัศน์ครู
 -  หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

หมายเหตุ ข้อมูลที่หาเพิ่มเติม

ทักษะทางคณิตศาสตร์ คือ ?
         ก่อนที่จะค้นหาวิธีส่งเสริมต่างๆ ให้กับเด็ก เราควรจะรู้ว่าทักษะทางคณิตศาสตร์นั้นหมายถึงเรื่องอะไรบ้า
  หลายคนเข้าใจว่าคณิตศาสตร์ คือ เรื่องของจำนวนและตัวเลขเท่านั้น แต่ความจริงแล้วคณิตศาสตร์มีเนื้อหาที่กว้างกว่านั้นมาก....เช่น
    • รูปทรง
    • การจับคู่
    • การชั่งตวงวัด
    • การเปรียบเทียบ
    • การจัดลำดับ
    • การจัดประเภท ฯลฯ

  เริ่มได้เมื่อไหร่ดี ....  การเรียนรู้ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กแต่ละวัยย่อมแตกต่างกันไป เราสามารถส่งเสริมเนื้อหาทางคณิตศาสตร์ได้ทุกด้านแต่ต่างกันตรงวิธีการค่ะสำหรับเด็กวัย 3- 4 ขวบ จำเป็นต้องเรียนคณิตศาสตร์ผ่านสิ่งที่เป็นรูปธรรมมากเพราะเขายังไม่เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น ให้เด็กสามขวบ ดูตัวเลข 2 กับ 3 แล้วเอาเครื่องหมายมากกว่าน้อยกว่าไปให้เขาใส่ เขาก็จะงงแน่นอน ว่าเจ้าสามเหลี่ยมปากกว้างนี้คืออะไร เด็กวัยนี้การเรียนเรื่องจำนวนตัวเลข ต้องผ่านสิ่งของที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ แต่ถ้าเป็นพี่ 5 หรือ 6 ขวบ จะเริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ได้แล้ว เรียนรู้ได้จากสิ่งใกล้ตัว
         คณิตศาสตร์มีอยู่ทุกหนทุกแห่งรอบตัวเรา  ในแต่ละวันเด็ก ๆ มีโอกาสที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเลข  จำนวน  รูปทรงเรขาคณิต การจับคู่ การแยกประเภท  ฯลฯ  เช่น การตื่นนอน (เรื่องของเวลา) การแต่งกาย (การจับคู่เสื่อผ้า)  การรับประทานอาหาร (การคาดคะเนปริมาณ) การเดินทาง(เวลา ตัวเลขที่สัญญาณไฟ ทิศทาง) การซื้อของ (เงิน การนับ การคำนวณ)  ฯลฯ เชื่อหรือยังคะว่าคณิตศาสตร์มีอยู่จริงในชีวิตประจำวัน......
 อ่านต่อได้ที่ 

ที่มา  :  แผนกอนุบาล  ฝ่ายการศึกษา อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
ผู้เขียน  : อ.กาญจนา  คงสวัสดิ์