ภาพกิจกรรมและสื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย

วันอังคาร ที่ 19 กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย 

งานวิจัยเรื่อง : การศึกษาความสามารถในการวาดรูปทรงและการจำตัวเลขของเด็กปฐมวัยที่อยู่ในภาวะ เสี่ยงต่อการมีปัญหาทางการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอน เรื่อง การวาดรูปทรงและการจำตัวเลข

ผู้วิจัย:  อาภา  พัฒนประสิทธิ์


สรุปวิจัย : มุ่งศึกษาถึงผลการใช้ชุดการสอนเรื่องการวาดรูปทรงและการจำตัวเลขที่มีต่อความ สามารถในการวาดรูปทรงและการจำตัวเลขของเด็กปฐมวัยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการ มีปัญหาทางการเรียนรู้ซึ่งจะเป็นแนวทางให้ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการ ศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีปัญหาทางการเรียนรู้ในการ นำวิธีการที่เหมาะสมไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะกับนักเรียนเพื่อ พัฒนาทักษะการเขียนและการฟังต่อไปและชุดการสอนเรื่องการวาดรูปทรงและการจำ ตัวเลข เป็นชุดการสอนที่มีสื่อการสอนที่น่าสนใจใช้ง่าย สะดวก ไม่เสียเวลามากและเด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้โดยทั่วไปมีปัญหาในการใช้ภาษาทั้งในการฟัง การอ่านการเขียนและการสะกดคำหรือปัญหาทางด้านการเรียนคณิตศาสตร์ เด็กปฐมวัยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อปัญหาทางการเรียนรู้เราจะพบว่าในเด็กกลุ่ม นี้จะเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการมีปัญหาทางการเรียนรู้โดยจะมีปัญหาทางด้านการ อ่าน การฟัง การคิด การพูด การเขียนและคณิตศาสตร์


สรุปหลังการใช้ชุดการสอนพบว่า : ทำ ให้เด็กปฐมวัยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีปัญญาทางการเรียนรู้มีความสามารถ ในการวาดรูปทรงมีพัฒนาการและทักษะอยู่ในระดับดีมากและการจำตัวเลขอยู่ใน ระดับดี

กรอบแนวคิดในการวิจัยจากการศศึกษาค้นคว้าดังนี้ :นักทฤษฎี กล่าวว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากการสัมพันธ์เชื่ยมโยงระหว่างสิ่งเร้า(S)กับการตอบสนอง(R)  
- ทฤษฎีของสกินเนอร์ กล่าวว่า พฤติกรรมเกิดจากการเรียนรู้ Types มีสิ่งเร้าเป็นตัวกำหน(Stimulus) และพฤติกรรมเกิดจากการเรียนรู้ Types หรือการตอบสนองขึ้นอยู่กับการเสริมแรง (Reinforcement)
- ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเปียเจด์ กล่าวว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากทางการทำงานของระบบประสาท ส่วนกลางเรียกว่าโครงสร้างทางสติปัญญา

การประเมิน : การประเมินผลพัฒนาการของเด็กทางสติปัญญา ทัศนคติ การับรู้ การเคลื่อนไหวและ
 พัฒนาการ ฯลฯ การวัดผลและประเมินผลทางจิตใจ ดังนี้
- พัฒนาการทางสติปัญญา
- พัฒนาการทางการเคลื่อนไหว
- พัฒนาการทางด้านภาษา
- พัฒนาการทางด้านคุณลักษณะเฉพาะตัวและสังคม

ข้อเสนอแนะในการทำกาววิจัยในครั้งต่อไป
1. ควรมีการศึกษาความสามารถในด้านอื่นๆที่ปรากฏผลจากแบบทดสอบว่าอยู่ในภาวะเสี่ บงต่อการมีปัญหาการเรียนรู้ เช่น ด้านการจัดหมวดหมู่ การจำคำ การใช้ขาและซ้ายขวา



                  

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 16

  

วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ 255 

การเรียนการสอนในวันนี้ 

  •   อาจารย์แจ้งกำหนดการวันทำกิจกรรมต่างๆให้กับนักศึกษาทราบมี ดังนี้

วันที่  26  กุมภาพันธ์  2556  13.00 น.   
- สอบวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่  2  มีนาคม 2556    
- งานกีฬาสีเอกปฐมวัย  9.00 น.
วันที่  3  มีนาคม 2556   
- งานปัจฉิมนิเทศ 10.00 น. และงานบายเนียร์ (ช่วงเย็น)
วันที่  5-8 มีนาคม 2556  
- ไปศึกษาดูงานที่จังหวัดหนองคาย

  • อาจารย์ให้สรุปเนื้อหา ทักษะ และประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  •  อาจารย์ได้สรุปความคิดรวบยอดวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

*งานที่ได้รับมอบหมาย
- ให้นักศึกษาอ่านงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย แล้วสรุปเนื้อหางานวิจัยประเด็นที่สำคัญจากเรื่องงานวิจัยที่หามา 




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15


                                     วัน อังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556

  •   อาจารย์ให้นักศึกษาสอบสอนต่อมีหน่วยเรียนรู้ ดังนี้
 - หน่่วยกล้วย
 - หน่วยข้าวโพด

 เทคนิคที่อาจารย์เสอนแนะ 
ครูถาม : เด็กๆบอกครูซิค่ะว่าเด็กๆเคยกินข้าวโพดอะไรมาบ้างค่ะ
เด็กตอบ :  ข้าวโพดอบเนย ข้าวโพดต้ม  ข้าวโพดคั่ว(ทำเป็นมายแม็บ)
ครูถาม: เด็กๆดูซิว่าวันนี้ครูเอาอะไรมาให้เด็กๆดูเด็กๆคิดว่าอะไรยุในตะกล้าค่ะ
(การถามแบบนี้เพื่อให้เด็กคาดคะเนกับสิ่งที่ครูถามครั้งแรก)
เด็กตอบ: ข้าวโพดค่ะ/ครับ
ครูตอบ: ถูกต้องค่ะเด็กๆเก่งมากค่ะ
ครูถาม: เด็กๆคิดว่าในตะกล้ามีข้าวโพดทั้งหมดเท่าไรค่ะ
เด็กตอบ: 5,6,7…...
ครูถาม: ให้เด็กมาหยิบออกจากตะกล้าแล้วนับจำนวน(โดยนำมาเรียงกันแยกออกจากตะกล้า)
ครูถาม: ให้เด็กนับจำนวนข้าวโพดที่นับได้(แล้วครูเขียนเลขไว้บนฝักสุดท้าย)
ครูถาม: ให้เด็กๆแยกข้าวโพดที่ปอกเปลือกแล้วออกมาจากข้าวโพดที่ยังไม่ได้ปอกเปลือก
เด็กตอบ:(สมมุติว่าแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม) มีทั้งหมด 3 ฝัก        
ครูถาม: ข้าวโพดที่เหลือมี
ครูถาม: เด็กๆคิดว่าข้าวโพดที่ปอกเปลือกแล้วและข้าวโพดที่ยังไม่ปอกเปลือกเท่ากันหรือมากกว่าค่ะ (ให้เด็กๆจับคู่ 1:1)
ครูถาม: ข้าวโพดหมดพร้อมกันแสดงว่ามีเท่ากันค่ะ
ครู: สรุปข้าวโพดที่เด็กๆได้รู้จักวันี้มีข้าวโพดที่เป็นฝักที่ยังไม่ได้นำไปทำของหวาน ข้าวโพดต้ม, ข้าวโพดอบเนย, ข้าวโพดคั่ว
                                                                       (อารีวรรณ)

- มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย