วันอังคาร ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
สรุปงานวิจัย
งานวิจัยเรื่อง : การศึกษาความสามารถในการวาดรูปทรงและการจำตัวเลขของเด็กปฐมวัยที่อยู่ในภาวะ เสี่ยงต่อการมีปัญหาทางการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอน เรื่อง การวาดรูปทรงและการจำตัวเลข
ผู้วิจัย: อาภา พัฒนประสิทธิ์
สรุปวิจัย : มุ่งศึกษาถึงผลการใช้ชุดการสอนเรื่องการวาดรูปทรงและการจำตัวเลขที่มีต่อความ สามารถในการวาดรูปทรงและการจำตัวเลขของเด็กปฐมวัยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการ มีปัญหาทางการเรียนรู้ซึ่งจะเป็นแนวทางให้ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการ ศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีปัญหาทางการเรียนรู้ในการ นำวิธีการที่เหมาะสมไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะกับนักเรียนเพื่อ พัฒนาทักษะการเขียนและการฟังต่อไปและชุดการสอนเรื่องการวาดรูปทรงและการจำ ตัวเลข เป็นชุดการสอนที่มีสื่อการสอนที่น่าสนใจใช้ง่าย สะดวก ไม่เสียเวลามากและเด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้โดยทั่วไปมีปัญหาในการใช้ภาษาทั้งในการฟัง การอ่านการเขียนและการสะกดคำหรือปัญหาทางด้านการเรียนคณิตศาสตร์ เด็กปฐมวัยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อปัญหาทางการเรียนรู้เราจะพบว่าในเด็กกลุ่ม นี้จะเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการมีปัญหาทางการเรียนรู้โดยจะมีปัญหาทางด้านการ อ่าน การฟัง การคิด การพูด การเขียนและคณิตศาสตร์
สรุปหลังการใช้ชุดการสอนพบว่า : ทำ ให้เด็กปฐมวัยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการมีปัญญาทางการเรียนรู้มีความสามารถ ในการวาดรูปทรงมีพัฒนาการและทักษะอยู่ในระดับดีมากและการจำตัวเลขอยู่ใน ระดับดี
กรอบแนวคิดในการวิจัยจากการศศึกษาค้นคว้าดังนี้ :นักทฤษฎี กล่าวว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากการสัมพันธ์เชื่ยมโยงระหว่างสิ่งเร้า(S)กับการตอบสนอง(R)
-
ทฤษฎีของสกินเนอร์ กล่าวว่า พฤติกรรมเกิดจากการเรียนรู้ Types
มีสิ่งเร้าเป็นตัวกำหน(Stimulus) และพฤติกรรมเกิดจากการเรียนรู้ Types
หรือการตอบสนองขึ้นอยู่กับการเสริมแรง (Reinforcement)
-
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเปียเจด์ กล่าวว่า
การเรียนรู้ของเด็กเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากทางการทำงานของระบบประสาท
ส่วนกลางเรียกว่าโครงสร้างทางสติปัญญา
การประเมิน : การประเมินผลพัฒนาการของเด็กทางสติปัญญา ทัศนคติ การับรู้ การเคลื่อนไหวและ
พัฒนาการ ฯลฯ การวัดผลและประเมินผลทางจิตใจ ดังนี้
- พัฒนาการทางสติปัญญา
- พัฒนาการทางการเคลื่อนไหว
- พัฒนาการทางด้านภาษา
- พัฒนาการทางด้านคุณลักษณะเฉพาะตัวและสังคม
ข้อเสนอแนะในการทำกาววิจัยในครั้งต่อไป
1.
ควรมีการศึกษาความสามารถในด้านอื่นๆที่ปรากฏผลจากแบบทดสอบว่าอยู่ในภาวะเสี่
บงต่อการมีปัญหาการเรียนรู้ เช่น ด้านการจัดหมวดหมู่ การจำคำ
การใช้ขาและซ้ายขวา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น